ระบบการศึกษา

๑.    จัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน ณ คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ  โรงพยาบาลหรือหน่วยงานในสังกัดของรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ

๒.  จัดระบบการเรียนแบบทวิภาค  โดย แบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ  และ ๑ ภาคฤดูร้อน

๓.  การกำหนดหน่วยกิตสำหรับรายวิชาถือเกณฑ์   ดังนี้

           ๓.๑   รายวิชาภาคทฤษฎี  หรือเทียบเท่าให้ใช้เวลาบรรยาย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง  เป็นปริมาณการศึกษา ๑ หน่วยกิต

           ๓.๒  รายวิชาภาคปฏิบัติ  หรือการเรียนการสอนที่เทียบเท่าให้คิด  ๓  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติหรือประมาณ  ๔๕  ชั่วโมง  เป็นปริมาณการศึกษา  ๑ หน่วยกิต

           ๓.๓  การฝึกงาน  หรือการฝึกปฏิบัติภาคสนามให้คิด ๘ ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนาน ๖ สัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติ หรือตั้งแต่ ๔๐๐  ชั่วโมง/รายวิชา เป็นปริมาณการศึกษา  ๓  หน่วยกิต นักศึกษาจะถูกส่งไปฝึกงานหรือการฝึกปฏิบัติภาคสนาม ในหน่วยรังสีวินิจฉัย/หน่วยรังสีรักษา/หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ของสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ผู้ประสานงานการฝึกงานและผู้รับผิดชอบการฝึกงานซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานนั้นๆ โดยให้ได้เวลาการฝึกงานรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า ๑๐๐๐ ชั่วโมง ตลอดหลักสูตร มีการสอบความรู่้ที่ฝึกภายสนามรวมเมื่อฝึกเรียบร้อยแล้ว

๔.  สำหรับภาคฤดูร้อน นักศึกษาอาจลงทะเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาฯ

 


 ระยะเวลาการศึกษา

                 ระยะเวลาศึกษาเพื่อรับปริญญาตรี กำหนดไม่ให้เกิน ๔ ปีการศึกษา การนับระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา


การลงทะเบียนเรียน

            ๑. นักศึกษาแต่ละคนมีอาจารย์ที่ปรึกษาตามที่มหาวิทยาลัยหรือคณะแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษานั้น มหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งและมอบหมายอาจารย์หรือบุคคลอื่นให้ทำหน้าที่แนะนำปรึกษาการเรียน ตักเตือน และดูแล ความประพฤตินักศึกษาก็ได้

           ๒.  มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา ในการลงทะเบียนเรียน นักศึกษาต้องใช้เอกสารต่างๆ สำหรับลงทะเบียนเรียนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ส่วน วัน เวลา และสถานที่ ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

            ๓. นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนโดยปรึกษาและขอรับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน เว้นแต่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ซึ่งสมัครเข้าเป็นนักศึกษาด้วยตนเองต้องปรึกษา และได้รับความเห็นชอบ จากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ที่มหาวิทยาลัย มอบหมายก่อน จึงจะลงทะเบียนเรียนในชั้นปีที่ ๑ ภาค ๑ ได้

         ๔. นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปกติได้ภาคละไม่เกิน ๒๔ หน่วยกิต ส่วนในภาค ฤดูร้อนให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๑๒ หน่วยกิต ในกรณีที่นักศึกษาขอลงทะเบียนเรียนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคแรก คณบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณบดี อาจอนุมัติให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๓๐ หน่วยกิตในภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน ๑๘ หน่วยกิตในภาคฤดูร้อน การอนุมัตินี้ให้ลงนาม อนุมัติในแบบคำร้องหรือเอกสารตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

         ๕. กระบวนวิชาใดมีนักศึกษาลงทะเบียนในภาคหนึ่ง ๆ ไม่ถึง ๑๐ คน มหาวิทยาลัยอาจประกาศงดสอนกระบวนวิชานั้นก็ได้


การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

๑.  การวัดผลการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พุทธศักราช ๒๕๕๑ ข้อ ๑๖ และ ข้อ ๒๐

๒.  เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พุทธศักราช ๒๕๕๑ ข้อ ๒๐ (ทั้งนี้ นักศึกษาต้องเรียนกระบวนวิชาต่าง ๆ ให้ครบตามที่หลักสูตรกำหนด และสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ ทุกภาคการศึกษา

๓.  นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาต่างๆให้ครบตามโครงสร้างของหลักสูตรและเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยมีหน่วยกิตสะสม ของรายวิชาไม่น้อยกว่า  ๑๔๐ หน่วยกิต  ต้องทำภาคนิพนธ์  ๑ เรื่อง โดยสอบผ่านภาคนิพนธ์ได้ระดับคะแนน S  (Satisfactory)  และต้องสอบผ่านวิชาความรู้คู่คุณธรรม   จึงจะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับ ปริญญาตรี  ในสาขาวิชารังสีเทคนิค

 


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ภาคปกติ (จันทร์-ศุกร์)

   -วิชานอกสาขาวิชาฯ เรียน จันทร์-ศุกร์ 17.00 -20.00 น.

   -วิชาในสาขาวิชาฯ เรียน จันทร์-ศุกร์ 9.30 - 16.30 น.

๑. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทย์-คณิต-ชีวะ) หรือ

๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) หรือประกาศนียบัตรพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ซึ่ง ก.พ. รับรองคุณวุฒิ หรือ

๓. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่ใกล้เคียง จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ.รับรอง และ

๔. เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ และ

๕. ต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพและไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และ

๖. ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษา ทั้ง TCAS (คะแนน GAT, PAT2, 7 วิชาสามัญ) หรือ สอบตรง (ข้อสอบปรนัย ๑๕๐ คะแนน ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ วิชาละ ๒๕ คะแนน ภาษาอังกฤษ ๕๐ คะแนน)

 

   โดยสาขาวิชาฯ จะเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าสอบคัดเลือก(รับตรง) ปีละ ๑ ครั้ง ราวเดือน เมษายนเดือนพฤษภาคม ของทุกปี